About
Contact Us
© 2020 Contextual Co.,Ltd. All rights reserved
Back To Home
Back To Home

รีวิวบริการ AI คุยเเก้เหงา ในหนังเรื่อง Her

Theodore ตัวเอกจากภาพยนตร์เรื่อง “ Her ”
ถ้านึกถึงหนังโรเเมนติคที่มีฉากหลังเป็นโลกอนาคตสักเรื่องหนึ่ง ชื่อของ “Her” น่าจะเป็นภาพยนตร์เรื่องเเรก ๆ ที่โผล่ขึ้นมา เคียงข้างกับภาพยนตร์ขึ้นหิ้งอย่าง  “ Eternal Sunshine of the Spotless Mind ”  โดยทั้งสองเรื่องนี้ ต่างว่าด้วยเหตุการณ์ที่คนหันไปหาทางเลือก หรือบริการใหม่ๆ ที่หวังว่าจะช่วยคลายความเหงา หรือช่วยให้ move on ผ่านความเจ็บปวดจากความสัมพันธ์ในอดีตได้ง่ายยิ่งขึ้น
จากภาพยนตร์ “ Her ” เราพบว่ามีบริการน่าสนใจอยู่ทั้งหมด 2 บริการ ที่ชวนให้คอหนังทั้งหลาย ได้ตั้งคำถามต่อประเด็นต่าง ๆ ตั้งเเต่ขอบเขตความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้เเละผู้ให้บริการที่อาจจะเปลี่ยนไปในอนาคตอันใกล้

สำหรับคนที่ยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ 

Her เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Theodore ( รับบทโดย วาคีน ฟีนิกซ์ ) พนักงานบริษัทรับเขียนจดหมายเเห่งหนึ่ง ที่ใช้ชีวิตเเบบอยู่ไปวันๆ เนื่องจากยังคิดถึงภรรยาคนเก่าที่พึ่งเเยกทางกันไป จนกระทั่งเขาได้รู้จักกับระบบปฎิบัติการอัจฉริยะที่ใช้ชื่อว่า “ Samantha ” ทำให้เขาค่อย ๆ เปิดใจ เเละเริ่มผูกพัน จนพัฒนากลายเป็นความรักครั้งใหม่กับ AI ตัวนี้

บริการรับเขียนจดหมายส่วนตัว

บริการรับเขียนจดหมายส่วนตัวในภาพยนตร์เรื่อง “ Her ”
บริการแเรก เป็นบริการของบริษัท BeautifulHandwrittenLetters.com ที่ Theodore พระเอกของเรื่องทำงานอยู่ ในโลกที่เทคโนโลยีก้าวหน้าพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมหลาย ๆ อย่าง การเขียนจดหมายส่วนตัวดี ๆ สักฉบับให้กับคนรู้จัก กลับกลายเป็นเรื่องที่มนุษย์มองว่าเสียเวลา หรือยุ่งยากเกินกว่าจะทำด้วยตนเอง บริษัทนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็น outsource รับเขียนจดหมายส่วนตัว เพียงเเค่ส่งโปรไฟล์ข้อมูลของเรา เเละของคนที่เราต้องการส่งจดหมายไปให้ บรรดานักเขียนในสังกัด ก็จะนำข้อมูลที่ได้ไปกลั่นกรอง เเละสวมบทบาทเพื่อเขียนเเทนเจ้าของคนนั้น ๆ 

จุดเด่นของบริการ

วินาทีเเรกที่เห็น หลายคนอาจจะรู้สึกว่าบริการนี้เเปลกเเละตั้งใจเสียดสีความสัมพันธ์อันฉาบฉวยของมนุษย์ชัด ๆ เเต่ถ้ามองในมุมของบริการเเนวผู้ช่วยเเล้ว นี่นับเป็นบริการผู้ช่วยรูปเเบบใหม่ที่น่าจะช่วยประหยัดเวลา เเละเป็นทางลัดในการ keep connect กับคนรอบตัวให้เหล่าลูกค้าผู้รักสบาย เพราะทำให้สามารถส่งจดหมายให้กับใครก็ตาม ในโอกาสไหนก็ได้ ตั้งเเต่เขียนจดหมายรักหาเเฟน จดหมายอวยพรไปเยี่ยมเพื่อนที่เข้าโรงพยาบาล จดหมายอัพเดทชีวิตให้กับคนในครอบครัวที่ไม่ได้เจอกันมานาน ไปจนถึงเขียนเเสดงความเสียใจให้กับคนที่เราไม่ได้สนิทด้วยเเต่ต้องส่งให้ตามมารยาท โดยที่เจ้าของจดหมายเเทบไม่ต้องกังวลว่า คนที่ได้อ่านจะรู้สึกผิดใจ หรือเกิดความขัดเเย้งระหว่างกัน เพราะทุกอย่างผ่านการคราฟท์คำพูดให้ดูดีโดยเหล่า ghostwriter ฝีมือฉกาจ ที่เขียนให้ลูกค้ามานับไม่ถ้วน
FUN FACT : Geoff McFetridge ผู้ออกเเบบ UI ภายในหนัง ได้ให้สัมภาษณ์ถึงเเนวคิดการออกเเบบในโลกอนาคตไว้ว่า interface ของคอมพิวเตอร์พระเอกที่เราเห็นกันนั้น จริงๆเเล้วถูก customized ตามลักษณะนิสัยการใช้งาน ของเเต่ละคนโดยอัตโนมัติ นั่นเเปลว่าถ้าเราเดินดูหน้าจอของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในออฟฟิศ จะพบว่า interface ของเเต่ละเครื่องจะไม่เหมือนกันเลย สิ่งเดียวที่เหมือนกันคือทุกเครื่องไม่มีคีย์บอร์ด เเละ ใช้ voice command ในการเขียนจดหมายเเต่ละฉบับ
ภายในออฟฟิศของบริษัท BeautifulHandwrittenLetters.com

ระบบปฎิบัติการอัจฉริยะที่พร้อมเป็นทุกอย่างให้กับคนเหงา

อีกบริการที่ถือเป็นหัวใจหลักของหนังเรื่องนี้ คือ ระบบปฎิบัติการสุดล้ำที่ให้บริการโดยบริษัท “OS1” เริ่มปรากฎตัวครั้งเเรกบนจอโฆษณา ระหว่างที่พระเอกกำลังเดินทางกลับบ้าน
โฆษณาของบริษัท OS1
ถ้าดูจากในโฆษณา เราจะเห็นความพยายามในการวาง position ของบริการ ให้เป็นเหมือนที่พึ่งทางความสัมพันธ์สำหรับมนุษย์ยุคใหม่ ที่รู้สึกตัดขาดจากคนหมู่มากเเบบที่ Theodore พระเอกของเรารู้สึก ด้วย key message โดน ๆ ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายเพียงไม่กี่ประโยค อย่าง AI ที่ฉลาดจนมีความนึกคิดเป็นของตัวเอง เเต่พร้อมจะรับฟัง เข้าใจเเละไม่ตัดสิน ก็ทำให้บรรดา user ขี้เหงาที่เดินผ่าน อยากลองเเละหยิบกลับไปใช้ที่บ้านได้ไม่ยาก

5 อุปกรณ์ที่ใช้คู่กับบริการนี้

1. หูฟัง wireless เพื่อใช้งาน private mode เมื่อใส่หูฟังจะได้ยินเสียงของ AI เฉพาะคนที่ใส่หูฟังเท่านั้น เเต่เมื่อถอดหูฟังออกจะกลายเป็นเสียงในระดับปกติเหมือนมีคนกำลังพูดอยู่ในห้องจริงๆ
2. โทรศัพท์มือถือในอนาคต ที่มีหน้าตาเหมือนกล่องเก็บซิก้าร์ไม้เเบบพับได้ เเต่ใช้งานเเทบจะเหมือนสมาร์ทโฟนที่เราคุ้นชิน เมื่อมี notification ขอบของโทรศัพท์จะเรืองเเสงเป็นสีเเดงเพื่อทำให้ user สนใจเเละหยิบออกมาดู
FUN FACT : ผู้ออกเเบบโทรศัพท์ตั้งใจให้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ใช้ในเรื่องให้ดูเป็นเทคโนโลยีน้อยที่สุด เพราะมองว่าในโลกอนาคต เทคโนโลยีที่ผ่านการออกเเบบมาดี ควรจะดูกลมกลืนไปกับไลฟ์สไตล์ของคนๆนั้น ไม่จำเป็นต้องดูล้ำหน้าเสมอไป ส่วนที่ออกเเบบมาให้หน้าตาเหมือนกล่องเก็บซิการ์เล็กๆ เพราะชอบความรู้สึกเวลาถือที่ทั้งพอดีมือ ไม่เทอะทะเหมือนสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ เเถมยังเข้ากับสไตล์เเฟชั่นของพระเอกด้วย
3. กล้องจิ๋วสำหรับติดบนผิว ทำงานเเบบ wireless สำหรับใช้งานในบางฉาก
4. ไมโครโฟนที่มองไม่เห็น ทั้งในโทรศัพท์ หูฟัง หรือคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ระบบปฎิบัติการสามารถได้ยินเเละคอยดูเเลได้ตลอดเวลา
5. คอมพิวเตอร์เเบบตั้งโต๊ะ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการใช้งานเเละติดตั้งระบบ

จุดเด่นของบริการ

สิ่งที่เราชอบในภาพรวมของบริการนี้คือ ความฉลาด เเละรวดเร็วของระบบปฎิบัติการที่ personalized ตาม user เเต่ละคน ถึงเเม้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ เเต่กลับใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เเถมมีการขอความยินยอมในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวจากผู้ใช้ก่อนเเทบทุกครั้ง เช่น ตอนขอเข้าไปดู hard disk เพื่อจัดระเบียบอีเมลให้ หรือตอนขอดูหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยตรวจจดหมายให้ ก็จะมีการขออนุญาตก่อนทุกครั้ง
ความฉลาดของบริการนี้เริ่มตั้งเเต่ตอนที่ผู้ใช้งานติดตั้งระบบลงบน desktop เเละเข้าสู่ขั้นตอนของการสร้างระบบปฎิบัติการ (OS) user จะต้องตอบชุดคำถามคัดกรองจำนวนหนึ่ง ตัวอย่างคำถามที่เจอเช่น  คุณเป็นชอบเข้าสังคม หรือ ต่อต้านสังคมมากกว่ากัน? (ซึ่งจุดนี้ ระบบประเมินได้โชว์ความฉลาดที่สามารถตรวจจับเเม้กระทั่งน้ำเสียงที่ไม่มั่นใจของ Theodore) , คุณอยากให้เสียงของระบบปฎิบัติการเป็น ผู้ชาย หรือ ผู้หญิง? ไปจนถึง คำถามปลายเปิด อย่าง ให้นิยามความสัมพันธ์ระหว่างตัวพระเอกกับเเม่ของเขา พอระบบประเมินเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเเละความต้องการของผู้ใช้บริการคนนั้นดีพอเเล้ว ก็จะสร้าง AI  ขึ้นมาให้ รวมทุกขั้นตอนตั้งเเต่ตอบคำถามจนถึงได้ออกมาเป็น “Samantha” ใช้เวลาไปเพียงเเค่ 57 วินาทีเท่านั้น!
Samantha ยังเป็นระบบปฎิบัติการที่มีความสามารถหลากหลาย เเละเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันได้อย่างเเนบเนียนมาก ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะทางความสัมพันธ์เเบบไหนก็ตาม ในเรื่องเราได้เห็นว่า Samantha เริ่มจากการเป็นผู้ช่วยส่วนตัว จัดการเรื่องที่ Theodore ขี้เกียจทำอย่างการนั่งดูเเละลบอีเมลเก่า ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เเล้ว เป็นเลขาส่วนตัวคอยตรวจเช็คคำผิด เเละ grammar ให้ตอนทำงาน เป็นเพื่อนเล่นเกมตอนดึก เป็นเพื่อนคุยคอยให้กำลังใจ ตอนที่รู้สึกสับสน ไปจนถึงเป็นที่ปรึกษาด้านความรักเพื่อให้ก้าวไปสู่ความสัมพันธ์ครั้งใหม่ได้ จนถึงวันที่ Samantha เป็นเเฟนกับพระเอก ก็ยังเเต่งเพลงที่เป็นตัวเเทนของภาพถ่ายระหว่าง “Samantha" เเละ “Theodore” เพื่อเก็บเป็นความทรงจำระหว่างคนสองคนเหมือนที่คู่รักคนอื่น ๆ ทำกัน
แม้ในตอนแรก พระเอกไม่ได้ตั้งใจที่จะรักกับ AI ( ซึ่งก็เหมือนกับความรักส่วนใหญ่ที่เกิดกับคน ) แต่ความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นทุกวัน จากความเข้าใจ ความเป็นเพื่อน ทำให้เกิดความผูกพันธ์ สิ่งที่หนังแสดงให้เห็นคือ ตอนที่พระเอกเเกะกล่อง OS1 ออกมา เเล้วเจอกับใบอธิบายคุณสมบัติการใช้งานยาวเหยียด เหมือนกับเวลาที่เราซื้อ gadget หรือสมัครใช้งานบริการบนเเพลทฟอร์มต่าง ๆ สิ่งที่พระเอกทำ ซึ่งเหมือนกับคนทั่วไป คือ โยนทิ้ง เก็บไว้อ่านทีหลังเมื่อมีปัญหา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเรื่องภาษาที่ใช้เข้าใจยาก หรือขี้เกียจอ่านในสิ่งที่ยังไม่จำเป็นต้องรู้ เเต่นั่นอาจเป็นการพลาดโอกาสเดียวที่จะเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้น ในฐานะผู้ใช้บริการที่กำลังเปราะบางกับความสัมพันธ์
Reference :
HER (2013) 
Romance/Sci-fi
ผู้กำกับ :  Spike Jonze
นักแสดงนำ : Joaquin Phoenix , Scarlett Johansson (ให้เสียง Samatha)
Academy Awards (Oscar) 2014
Winner  :
Best Writing
Original Screenplay 
Golden Globe 2014
Winner  :
Best Screenplay - Motion Picture

# movie service
# service design
# innovation
# digital experience
# AI
# artificial intelligence
# future
# sci-fi
# romance
# her
SHARE NOW :
Posted On 1 Dec 2020